โครงการสอนภาษา,วัฒนธรรม ชาติพันธุ์

 30 มีนาคม 2565, 00:00 น.

จำนวนผู้เข้าชม 111

วัตถุประสงค์มูลนิธิฯ
 

๑.  เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่าน ฟัง พูด  อ่าน เขียน ภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ-ภาษาไทใหญ่-ภาษาจีน-ภาษาพม่า และภาษาไทธรรมได้

๒. เพื่อสืบสานและอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่นและปลูกฝังผู้เรียนให้เห็นคุณค่าภาษาของตนเอง

๓.  เพื่อให้นักเรียนผู้รับการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 

กิจกรรม
 

ด้วยชมรมพี่น้องไตซึ่งได้จัดตั้งขึ้นภายใต้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ช่วยเหลือส่งเสริมการศึกษา ภาษาและประเพณีวัฒนธรรมอันดีแก่พี่น้องชาวไต เป็นที่ทราบกันว่าพี่น้องชาวไทยในราชอาณาจักรไทยและพี่น้องชาวไต ในรัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ มีประเพณีวัฒนธรรมที่คล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมทางภาษาพูด วิถีชีวิต การนับถือศาสนา  และประชาชนทั้ง ๒ ประเทศนี้นอกจากจะมีความใกล้ชิดกันทางวัฒนธรรมแล้ว ก็ยังมีการติดต่อปฏิสัมพันธ์กันทางศาสนา เครือญาติ หรือการค้าขายอีกด้วย ปัจจุบันนี้พี่น้องชาวไตในรัฐฉาน ได้อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทย  อันเนื่องมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง  โดยที่บางคนมีจุดประสงค์ก็คือเพื่อการศึกษาต่อ บางคนก็มาเพื่อประกอบสัมมาอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือเพื่อเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการหนีร้อนมาพึ่งเย็น  เมื่อได้อยู่อาศัยในราชอาณาจักรไทยด้วยความสงบเย็นนั้น ได้ประสบปัญหาทางด้านการศึกษา ไม่สามารถฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยได้ อันเนื่องมาจากไม่มีสถานที่ศึกษาหรือหน่วยงานใดให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เหตุนั้นจึงขาดโอกาสความก้าวหน้าในชีวิตและการงาน เช่น การศึกษาต่อ การสมัครงานและประกอบอาชีพที่สุจริต กล่าวคือผู้มีความประสงค์จะศึกษาต่อก็ไม่สามารถศึกษาต่อได้ ผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพก็กลายเป็นคนว่างงาน ถูกเอารัดเอาเปรียบ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่เพียงแต่เท่านั้น บางคนยังกลายเป็นภาระทางสังคมอีกด้วย อันมีสาเหตุมาจากความไม่มีความรู้ทางด้านภาษาไทยนั่นเอง ดังนั้นชมรมรวมพี่น้องไตที่ดำเนินการโดยพระนิสิตที่มาจากรัฐฉาน ในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ เห็นว่าการจะแก้ปัญหาดังกล่าวมานี้ ก็โดยการเปิดโอกาสทางการศึกษาหรือจัดให้มีกิจกรรม การเรียน การสอนภาษาไทยแก่พี่น้องไตเหล่านี้ เพื่อให้พี่น้องชาวไตได้ศึกษาเล่าเรียน สามารถสื่อสารโดยการพูด การฟัง การอ่านและการเขียนได้ ซึ่งจะเป็นแก้ไขปัญหาดังกล่าวมานี้ได้ตรงจุด อีกประการหนึ่ง  พี่น้องชาวไตที่มีรกรากถิ่นฐานอยู่ในราชอาณาจักรไทยจำนวนหนึ่งมีความประสงค์อยากศึกษาเล่าเรียนภาษาของตนเองคือภาษาไทใหญ่ และ ภาษาไทธรรม แต่ที่ผ่านมายังไม่มีสถานศึกษาใดหรือหน่วยงานใดจัดให้มีการเรียนการสอนขึ้น ดังนั้น ทางชมรมเห็นว่าควรจัดให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนให้พี่น้องชาวไตให้ศึกษาเล่าเรียนภาษาไทใหญ่และภาษาไทเขินด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับเข้าการศึกษาสามารถอ่านออกเขียนได้อย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการสืบสานอนุรักษ์ภาษาของตนเองอย่างหนึ่ง

  ดังนั้นชมรมรวมพี่น้องไตเห็นว่าควรเปิดให้โอกาสทางการศึกษาแก่พี่น้องไตเหล่านั้น  อันสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีความประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม อีกทั้งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาพุทธศักราช ๒๕๔๒ ที่เน้นการศึกษาให้มีสามระบบคือการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย และที่สำคัญก็คือการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ซึ่งทางชมรมพี่น้องไตเห็นว่า การจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาไทย-อังกฤษ ไต-ไทธรรม ขึ้นนี้ เป็นแนวทางอย่างหนึ่งที่จะแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนไม่ได้อีกทางหนึ่ง ไม่เพียงแต่เท่านั้นยังเป็นการดึงให้พี่น้องชาวไตที่กระจัดกระจายกันอยู่ได้มารวมกันเป็นกลุ่มก้อนโดยอาศัยการศึกษา ที่มีวัดเป็นศูนย์กลาง มีพระสงฆ์เป็นผู้นำทางความคิด จิตใจและสติปัญญา อันเป็นการหล่อหลอมและขัดเกลาจิตใจให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปกติสุขอีกด้วย 

ระยะเวลา
  เริ่มปี 2548 – ปัจจุบัน

ผลตอบรับ
 

๑.นิสิตร้อยละ ๘๐ ได้แสดงความคิดเห็นหรือทัศนคติที่ดีต่างๆ ในการทำกิจกรรมชมรม

                        ๒.นิสิตร้อยละ ๗๕ มีทักษะในการจัดกิจกรรมและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น

๓.นิสิตร้อยละ ๙๐ ได้ทำงานร่วมกันเป็นชมรมที่สร้างสรรค์ประสบการณ์และการเสียสละ

ต่อส่วนรวม

                        ๔.สามารถเป็นองค์กรในการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือระหว่างนิสิตเมื่อมีปัญหา

เอกสาร
     20220330133756_project.pdf

ลำดับ วันที่ กิจกรรม
1 6 เมษายน 2565 โครงการสอนภาษา,วัฒนธรรม ชาติพันธุ์
   

๑.  เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่าน ฟัง พูด  อ่าน เขียน ภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ-ภาษาไทใหญ่-ภาษาจีน-ภาษาพม่า และภาษาไทธรรมได้

๒. เพื่อสืบสานและอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่นและปลูกฝังผู้เรียนให้เห็นคุณค่าภาษาของตนเอง

๓.  เพื่อให้นักเรียนผู้รับการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้