โครงการเปิดห้องเรียนเคลื่อนที่
11 พฤษภาคม 2565, 00:00 น.
จำนวนผู้เข้าชม 116
วัตถุประสงค์มูลนิธิฯ | |
๑. โครงการ โครงการเปิดห้องเรียนเคลื่อนที่ ณ บ้านหัวเสือ ต.สันผักหวาน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุน มูลนิธิการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ๒. หน่วยงานสนับสนุน มูลนิธิการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ๓. ผู้รับผิดชอบโครงการ พระหลาวแลง กิตฺติธโร ๔. หลักการและเหตุผล ด้วยมูลนิธิการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา
การส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่สังคมในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ประกอบไปด้วย ประเทศไทย สหภาพเมียนมาร์ ลาว กัมพูชา
ตลอดจนสงเคราะห์ผู้ที่ด้อยโอกาส มูลนิธิฯ
ได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อสนองตอบวัตถุประสงค์
สงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส ภาคเหนือตอนบนมีทั้งหมด ๙ จังหวัด ประกอบไปด้วย
เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และอุตรดิตถ์ ส่วนมากเป็นพื้นที่ติดต่อประเทศสหภาพเมียนมาร์
มีชนกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย
ซึ่งอาศัยอยู่ตามตะเข็บชายแดน
บางกลุ่มหนีภัยสงครามมาทำงานใช้แรงงานในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเลี้ยงชีวิตตัวเอง
ครอบครัว โดยทำงานขายแรงงาน ทำงานก่อสร้าง มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก
ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกทารุณกรรม การถูกกดขี่ การถูกใช้แรงงาน
สาเหตุที่สำคัญคือไม่ได้รับการศึกษาในการสื่อสาร
ทำให้ไม่ได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียบอันพึงได้รับ ทางมูลนิธิฯ
ตระหนักถึงความสำคัญในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในการให้โอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกัน
เพื่อเป็นเครื่องมือไม่ให้ถูกเอารัตเอาเปรียบ สามารถเข้าถึงสวัสดิการ มีความรู้
สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างภาพภูมิใจ
และเป็นการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
จึงได้เปิดห้องเรียนเคลื่อนที่สำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ โดยเปิดสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาไทใหญ่
ให้แก่กลุ่มด้อยโอกาสดังกล่าว ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่สนใจมาเรียน
โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ๕.
วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้กลุ่มชาติพันธุ์และผู้ด้อยโอกาส
ได้เข้าถึงการศึกษาเท่าเทียมกัน ๒.
เพื่อช่วยเหลือไม่ให้กลุ่มใช้แรงงานและเด็กถูกเอารัดเอาเปรียบ ๓. เพื่อรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาติพันธุ์
๔. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ไม่มีโอกาสทางการศึกษาได้อ่านออกเขียนได้ ๕. เพื่อเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ยั่งยืน ๖. ผู้เรียน ๖.๑ กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ใช้แรงงานที่ไม่รู้หนังสือ ได้แก่
กลุ่มพี่น้องไทยใหญ่ ไทยเขิน พม่า และชนเผ่าต่างๆ เป็นต้น ๖.๒ เด็ก ชาย-หญิง อายุ ๘ – ๑๕ ปี ๗.
หลักสูตรการเรียนการสอน ๑. ภาษาไทย ๒. ภาษาอังกฤษ ๓. ไทใหญ่ ๘. สถานที่ดำเนินการ
ณ ห้องเรียนหมู่บ้านหัวเสือ ต.สันผักหวาน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ |
กิจกรรม | |
ระยะเวลา | |
๙. ระยะเวลาการดำเนินงาน สอนวันพฤหัส-วันอังคาร เริ่มตั้งแต่ วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๖ |
ผลตอบรับ | |
ความภาคภูมิใจในการทำงาน หลังจากที่ได้สอนเด็กๆในโครงการ
รู้สึกประทับใจในทุกๆครั้งที่สอน ได้เห็นพัฒนาการของเด็ก ความกล้าแสดงออก
ความกล้าในการที่จะถามเพื่อเพิ่มความเข้าใจในบทเรียนของตนเองให้มากขึ้น
ทุกครั้งที่ไปถึงที่เรียน เด็กๆจำนวนหนึ่งจะมารออยู่แล้วและมีเด็กอีกจำนวนหนึ่งที่รีบมาเรียน
ภาพนั้นแสดงให้เห็นว่าเด็กมีความตั้งใจที่จะมาเรียน
ตั้งใจที่จะหาความรู้เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ในระหว่างการสอนเด็กๆหลายคนตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี
มีส่วนน้อยที่ไม่ค่อยตั้งใจเรียน แต่เมื่อทำการพูดคุยกับเด็กแล้วเด็กก็กลับมาให้ความสนใจดังเดิมซึ่งนั่นเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นกับเด็ก
ทำให้เรามีความเข้าใจในพฤติกรรมของเด็กเพิ่มมากขึ้นและปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับอุปนิสัยของเด็กรวมทั้งเข้าใจการแสดงออกถึงท่าทางที่เด็กแสดงออกมาด้วย
โครงการนี้จะดำเนินต่อไปไม่ได้เลยถ้าขาดการร่วมมือของตัวเด็กและที่สำคัญคือการได้รับการร่วมมือจากพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กที่ให้การอำนวยความสะดวกในหลายๆด้านเช่น
ด้านสถานที่ ด้านอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆทื่ทางเราขาด
ดังที่เห็นได้บ่อยครั้งว่าห้องเรียนของเราไม่เพียงพอจำเป็นที่จะต้องเรียนข้างนอกซึ่งจำนวนเสื่อไม่เพียงพอจึงได้ทำการยืมเสื่อของผู้ปกครองของเด็กๆ
ผู้ปกครองก็รีบนำเสื่อมาให้โดยเร็วเพื่ออำนวยความสะดวกให้การสอนเป็นไปอย่างราบรื่น
หรือบางครั้งระหว่างที่สอนผู้ปกครองก็นำน้ำดื่มมาให้
สุดท้ายนี้ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากเด็กและผู้ปกครองโครงการนี้ก็อาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้
การได้มาสอนที่ในสถานที่แบบนี้ถือเป็นความรู้สึกที่ปราบปลื้มเพราะเป็นชุมชนที่ขาดแคลน
คนในชุมแห่งนี้ส่วนมากเป็นแรงงานที่หาเช้ากินค่ำ โดยไม่ค่อยมาเวลาดูแลลูกหลาน
เพราะฉะนั้นการที่ได้มาสอนเด็กๆถือเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อเพื่อนมนุษยชาติต่อไป |
เอกสาร | |
ลำดับ | วันที่ | กิจกรรม |
1 | 20 ตุลาคม 2566 | โรงเรียนเคลื่อนที่ (Mobile School) |
โครงการห้องเรียนเคลื่อที่ (SBK Mobile School) ดำเนินการโดยคณะนิสิตทุน มูลนิธิการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ ปัจจุบันกำลังดำเนินการเปิดสอน วิชาภาษาไตและภาษาอังกฤษทุกวันพฤหัสบดี และวันศุกร์ มีจำนวน 3 แห่ง แห่งที่ 1 แคมป์แรงงานบ้านกาญกนก 21 ต.แม่เห๊ยะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แห่งที่ 2 แคมป์แรงงานบ้านกาญกนกวิว 23 ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ แห่งที่ 3 ชุมชนแรงงาน บ้านสันป่าค่า ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ |
||
2 | 7 ธันวาคม 2566 | โครงการโรงเรียนเคลื่อนที่ |
ในวันที่ 7 พฤหัสบดี เดือน ธันวาคม ปี 2567นักศึกษาทุนกลุ่มจิตอาสา ได้ลงพื้นที่สอนหนังสือให้กับเด็กๆและนักเรียนในห้องเรียนเคลื่อนที่ Mobile School อยู่ตามแคมป์แรงงานต่างด้าวที่อยู่ภายในจังหวัดเชียงใหม่ วันจันทร์และวันพฤหัสบดีของแต่ละอาทิตย์
โครงการห้องเรียนเคลื่อที่ (SBK Mobile School) ดำเนินการโดยคณะนิสิตทุน มูลนิธิการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ ปัจจุบันกำลังดำเนินการเปิดสอน วิชาภาษาไตและภาษาอังกฤษทุกวันพฤหัสบดี และวันศุกร์ มีจำนวน 3 แห่ง แห่งที่ 1 แคมป์แรงงานบ้านกาญกนก 21 ต.แม่เห๊ยะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แห่งที่ 2 แคมป์แรงงานบ้านกาญกนกวิว 23 ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ แห่งที่ 3 ชุมชนแรงงาน บ้านสันป่าค่า ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ |
โครงการ
- โครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) (171)
- โครงการถวายกฐินสามัคคีและกฐินตกค้างประจำปี (164)
- โครงการสงเคราะห์คนชราที่ยากจน (160)
- โครงการถวายเทียนพรรษา (152)
- โครงการสร้างอาคารการเรียนให้เด็ดดอยโอกาส (150)
- โครงการสร้างบ้านให้คนยากจน (135)
- โครงการเปิดห้องเรียนเคลื่อนที่ (116)
- โครงการถวายพระไตรปิฎก 9 ประเทศ (115)
- โครงการน้ำดื่มสะอาดเพื่อชุมชน (114)
- โครงการปันน้ำใจให้คนด้อยโอกาสที่ศูนย์อพยพ ตามตะเข็บชายแดน (109)